วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ติดต่อเรา




รับปรึกษารายงาน วิจัย IS วิทยานิพนธ์

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำ รายงาน บทความ บทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ให้สำเร็จ อย่างมีคุณภาพ รับทำวิทยานิพนธ์, ภาคนิพนธ์, สาระนิพนธ์, Thesis, Research, IS (Independent Study) ปัญหาพิเศษ,รายงาน,เอกสารวิชาการ
งานต่างๆเหล่านี้ หากเป็นปัญหาสำหรับคุณเราช่วยเหลือได้ เพราะ มีประสบการณ์มาแล้วหลายเล่ม ทั้งภาครัฐและเอกชน งานด่วน งานเร่ง งานไม่เร่ง เราทำได้ในเวลาที่คุณต้องการ ราคากันเองสำหรับน้องๆนักศึกษา
1.รับทำรายงาน สืบค้นข้อมูลทุกสถาบัน
2.โพลล์สำรวจทั้งภาครัฐและเอกชน
3.บทความ / การบ้าน / วิเคราะห์เนื้อหา ฯลฯ
4.เขียน Proposal เพื่อเสนอโครงงาน ตั้งแต่ชื่อเรื่อง
5.วิจัย วิจัยในชั้นเรียน งานค้นคว้าอิสระIS วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์
6.ค้นคว้าข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล
7.ประมวลค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม (Alpha) ให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
8.คีย์แบบสอบถามและลงพื้นที่แจกแบบสอบถาม
9.วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS ทุกประเภท
10.แก้ไขเฉพาะบทที่ลูกค้าต้องการ
รับแก้ไขงานเร่งด่วน ติวก่อนขึ้นสอบทุกครั้ง และยินดีให้คำปรึกษาก่อนการตัดสินใจยินดีให้คำปรึกษาช่วยเหลือทุกขั้นตอน ด้วยเป็นการขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจมาโดยตลอด สามารถโทรปรึกษาได้ฟรี รับประกันคุณภาพ และความพึงพอใจ หากงานมีข้อผิดพลาด สามารถปรับปรุงได้ตามความต้องการของลูกค้า จนกว่างานจะผ่าน งานไม่มั่ว ภาษาเดียวกัน ทั้งเล่ม งานเร่ง งานด่วน งานรีบ จบชัวร์ ได้งานตรงต่อเวลา ไม่ต้องทวงงาน ราคายุติธรรมทั้งสองฝ่าย
ติดต่อได้ทุกวัน ชมพู่ 089-9400801 / 087-7216858
E – Mail : wongsitipun@hotmail.com

รับปรึกษางานวิจัย วิทยานิพนธ์ ประมวลผล spss โพลล์สำรวจทุกหน่วยงาน


1. ทำไมต้องพิจารณางานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
1.1 ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นหรือไม่ การพิจารณาว่าเรื่องนั้นควรทำหรือไม่ อาจพิจารณาจากหลักการ ต่อไปนี้
1.1.1 ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการวิจัย ผู้วิจัยอาจถามตนเองว่าผลการวิจัยมีประโยชน์ทางวิชาการมากน้อยเพียงใด (กรณีที่เป็นการวิจัยบริสุทธิ์) หรือมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานจากเดิมไปมากน้อยเพียงใด (กรณีที่เป็นการวิจัยประยุกต์)
1.1.2 ปัญหาของการวิจัย ปัญหาของการวิจัยในวิทยานิพนธ์ ควรมีลักษณะดังนี้ (1) เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบ หรือมีคำตอบบ้างแล้ว แต่มีจำนวนน้อยจนไม่สามารถสรุปได้หรือมีคำตอบจำนวนมากแล้ว แต่คำตอบเหล่านั้นสรุปได้ไม่ตรงกัน หรือ (2) เป็นปัญหาที่ไม่ซ้ำกับวิทยานิพนธ์ที่ผ่านมา แต่ถ้าต้องการวิจัยซ้ำ นักศึกษาต้องมีเหตุผลเพียงพอที่จะวิจัยซ้ำอีก วิธีพิจารณาความซ้ำของวิทยานิพนธ์ พิจารณาได้จากผลการประมวลเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากพบว่า มีเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และผลการวิจัยได้คำตอบที่ตรงกัน จนไม่น่าจะต้องแสวงหาคำตอบซ้ำ หรือไม่น่าจะต้องวิจัยซ้ำก็ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้ว แต่ถ้านักศึกษายังต้องการจะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นซ้ำจะต้องให้เหตุผลว่า ทำไมจึงต้องวิจัยซ้ำ
กรณีวิจัยซ้ำ (replication) อาจทำได้ หากมีเหตุผลดัง 4 ประการต่อไปนี้ (Borg and Gall อ้างใน McMillan, 1992: 30) (1) ตรวจสอบผลการวิจัยเพื่อยืนยัน หรือลบล้างผลการวิจัยที่ศึกษาไว้เดิม เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ มีผลการวิจัยใหม่ หรือมีทฤษฎีใหม่ที่ท้าทายให้ต้องมีการวิจัยใหม่ (2) ตรวจสอบความตรงของผลการค้นพบ เมื่อต้องการตรวจสอบว่า หากเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่าง เปลี่ยนเงื่อนไขการทดลอง ผลการทดลองจะเปลี่ยนไปหรือไม่ หรือยังคงเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่ (3) ตรวจสอบแนวโน้ม หากต้องการตรวจสอบว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนไป เงื่อนไขทางสังคมเปลี่ยนไป ข้อค้นพบจากการวิจัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร การวิจัยเช่นนี้ จะศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาแนวโน้มในตัวแปรนั้น ๆ เช่น การศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนว่าในทุก ๆ 2 ปี พฤติกรรมของนักเรียนเปลี่ยนไปอย่างไร จึงต้องทำวิจัยอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 2 ปีเป็นต้น และ (4) ตรวจสอบข้อค้นพบเมื่อใช้วิธีดำเนินการวิจัยที่แตกต่างกันการทำวิจัยสามารถทำซ้ำได้เมื่อเปลี่ยนเครื่องมือการวิจัยใหม่ วิธีการวิจัยใหม่ จะทำให้ข้อค้นพบจากการวิจัยเปลี่ยนไปหรือไม่
1.2 มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะทำวิทยานิพนธ์มากน้อยเพียงใด ความรอบรู้ในเนื้อหาที่จะทำวิทยานิพนธ์มีมากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากการประมวลความรอบรู้ใน “วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง” โดยต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางใน 5 ประเด็น ได้แก่
1.2.1 คำนิยามของคำหลัก (key word) จากชื่อเรื่อง หรือตัวแปรต้น ตัวแปรตามในชื่อเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์ว่า มีผู้ให้นิยามไว้อย่างไร และจะสรุปนิยามนั้นว่าอะไร
1.2.2 กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาว่า มีทฤษฎีอะไรที่เป็นกรอบแนวคิด พื้นฐาน หลักการของทฤษฎีนั้นมีว่าอย่างไร และนำมาประยุกต์ในการวิจัยครั้งนี้ได้อย่างไร
1.2.3 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเรื่องที่ศึกษามีอะไรบ้าง แต่ละตัวแปรเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อเรื่องที่ทำการศึกษาอย่างไร รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีลักษณะอย่างไร
1.2.4 ผลการวิจัยในอดีตที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัยมีอะไรบ้าง สรุปผลตรงกันหรือต่างกันอย่างไร ตัวแปรอะไรที่ยังไม่ได้ศึกษา และผลการวิจัยในอดีตสัมพันธ์กับเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์นี้อย่างไร
1.2.5 ข้อสรุปที่ได้จากประมวลความรู้มีความสัมพันธ์กับความเป็นมาของปัญหา วัตถุ-ประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย วิธีการวิจัย และเครื่องมือที่จะใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ ครั้งนี้อย่างไร
1.3 มีความเหมาะสมของวิธีการวิจัยมากน้อยเพียงใด นอกจากจะมีความรอบรู้ในเรื่องที่จะทำวิทยานิพนธ์แล้ว ยังต้องมีความรอบรู้ในวิธีการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงพรรณา ตลอดจนการวิจัย เชิงคุณภาพ ได้แก่ ความรอบรู้ในเรื่อง
1.3.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง
1.3.2 การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย เช่น แบบสำรวจ แบบสังเกต หรือแบบทดสอบและวิธีพัฒนาเครื่องมือให้ได้คุณภาพของเครื่องมือวัดชนิดนั้น ๆ
1.3.3 การออกแบบการวิจัย ได้แก่ วิธีการรวบรวมข้อมูล หรือการออกแบบการทดลอง การควบคุมตัวแปร
1.3.4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.4 วิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาถูกต้องหรือไม่ หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร แปลความหมายจากข้อมูลทีได้อย่างไร จะเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการบรรยาย ด้วยตาราง ด้วยภาพ หรือใช้หลายรูปแบบร่วมกัน และผลการวิจัยจะต้องตอบปัญหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย พร้อมการอภิปรายว่า ทำไมผลการศึกษา จึงเป็นเช่นนั้นและผลการศึกษาครั้งนี้เหมือนหรือต่างกับผลการศึกษาในอดีตอย่างไร ทำไมจึงต่างจากผลการวิจัยในอดีต
2. จะพิจารณาวิทยานิพนธ์เมื่อใด
วิทยานิพนธ์ควรพิจารณาก่อนเสนอผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์
3. วิทยานิพนธ์ส่วนไหนที่ต้องพิจารณา
หากพิจารณาถึงองค์ประกอบของวิทยานิพนธ์แล้ว วิทยานิพนธ์จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วน ประกอบด้วย
(1) ส่วนนำเรื่อง (2) ส่วนเนื้อเรื่อง และ (3) ส่วนท้าย
4. องค์ประกอบของการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)
สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
ขอบเขตการวิจัย (ถ้ามี)
ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)
นิยามศัพท์เฉพาะ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
แบบแผนการวิจัย
เครื่องมือ วิธีสร้างเครื่องมือ และวิธีทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และวิธีเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม (เอกสารอ้างอิง) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ภาคผนวก รายละเอียด หรือตัวอย่าง เครื่องมือ และข้อมูล
ประวัติผู้วิจัย
5. มีอะไรบ้างในแต่ละส่วนของวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ต้องพิจารณา
5.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
5.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5.3 กรอบแนวคิดการวิจัย
5.4 ขอบเขตของการวิจัย
5.5 สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
5.6 ข้อตกลงเบื้องต้น
5.7 นิยามศัพท์เฉพาะ
5.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6. พิจารณาวิจัยและวิทยานิพนธ์ได้อย่างไร
การพิจารณาวิทยานิพนธ์กระทำได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้พิจารณา (2) ผู้ทำวิทยานิพนธ์เป็นผู้พิจารณาวิทยานิพนธ์ ด้วยแนวทางการพิจารณาวิทยานิพนธ์ตามที่กำหนด และ (3) ผู้ทำวิทยานิพนธ์พิจารณาวิทยานิพนธ์เบื้องต้นด้วยแนวทางการพิจารณาวิทยานิพนธ์ตามที่กำหนด แล้วให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาต่ออีกครั้ง
สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ที่ยึดวิธีการศึกษาด้วยตนเอง พึ่งพาสื่อการสอนมาอกว่าสื่อบุคคลนั้น จะใช้รูปแบบที่ 3 ในการพิจารณาวิทยานิพนธ์
สำหรับในหัวเรื่องแนวทางการพิจารณาวิทยานิพนธ์จะเสนอใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) แนวทางการพิจารณาวิทยานิพนธ์ ส่วนนำเรื่อง และส่วนท้าย 2) แนวทางพิจารณาวิทยานิพนธ์ส่วนเนื้อเรื่อง (3) ตัวอย่างแบบพิจารณาวิทยานิพนธ์

ส่วนท้ายของงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
1. ปกนอก
2. สันปก
3. ปกใน
4. หน้าอนุมัติ
5. บทคัดย่อ
6. กิตติกรรมประกาศ
7. สารบัญ
8. สารบัญตาราง
9. สารบัญภาพ
10. บรรณานุกรม (เอกสารอ้างอิง) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
11. ภาคผนวก รายละเอียด หรือตัวอย่าง เครื่องมือ และข้อมูล