วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การวิจัยเชิงสำรวจ




ผู้วิจัยที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาการวิจัย ต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจเป็นขั้นตอนขั้นแรก เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าต้องมีการวิจัยเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เป็นการวิจัยเบื้องต้นเพื่อที่จะทำให้ปัญหาชัดเจน และกำหนดลักษณะของปัญหาได้ (Zikmund. 1997 : 128) การวิจัยเชิงสำรวจเป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ผู้วิจัยจะเป็นผู้คิดสร้างสรรค์ในการเลือกข้อมูล แหล่งข้อมูลที่จะสำรวจต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอ โดยใช้แหล่งข้อมูลที่ไม่สิ้นเปลือง ซึ่งมีการจัดหาข้อมูลเพื่อช่วยผู้บริหาร เทคนิคต่าง ๆ จะมีข้อจำกัด ซึ่งผู้วิจัยจะต้องระลึกถึงความเหมาะสม และความไม่เหมาะสมในการใช้เทคนิคต่าง ๆ ส่วนใหญ่การวิจัยเชิงสำรวจจะต้องออกแบบเพื่อจัดหาข้อมูลเชิงคุณภาพ จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดของปัญหามากกว่าการวัดผลหรือการวังเชิงปริมาณ ผู้วิจัยจะต้องค้นหาตัวเลขเพื่อระบุแนวโน้มทางเศรษฐกิจแต่ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์คณิตศาสตร์ แหล่งของข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของหรือสถานการณ์ปัญหา

นอกเหนือจากการใช้การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อการกำหนดปัญหาในการวิจัยต่อไปแล้วนั้น สามารถที่จะใช้เป็นการวิจัยเพื่อเพิ่มความคุ้นเคยกับปัญหาให้กับนักวิจัย ในกรณีที่นักวิจัยทำงานให้กับบริษัทเป็นครั้งแรก และยังไม่มีความคุ้นเคยกับปัญหาดีพอ หรือสามารถที่จะใช้การวิจัยเชิงสำรวจเพื่ออธิบายแนวความคิดต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนมากขึ้นได้ด้วย ตัวอย่าง ฝ่ายบริหารต้องการที่จะปรับปรุงนโยบายการให้บริการเพื่อยกระดับความพอใจของพนักงานการวิจัยเชิงสำรวจจะช่วยในการอธิบาย และสร้างความกระจ่างให้ฝ่ายบริหารเข้าใจถึงความพอใจของพนักงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้สามารถวางแนวนโยบายในการบริหารต่อไป

สาเหตุที่ต้องวิจัยเชิงสำรวจ

จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงสำรวจ คือเพื่อให้เกิดความชัดเจนในข้อความปัญหาผู้วิจัยจะใช้การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อจุดมุ่งหมาย 3 ประการที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้
1. การวิเคราะห์สถานการณ์ (Diagnosing a situation) มีความจำเป็นต้องวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อทำให้ลักษณะปัญหาชัดเจน การวิจัยเชิงสำรวจจะช่วยวิเคราะห์ลักษณะของปัญหาเพื่อให้เกิดการวิจัยตรงประเด็นโยช่วยกำหนดความสำคัญก่อน และหลังของการวิจัย การวิจัยเชิงสำรวจ จะช่วยฝ่ายบริหารในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่คุ้นเคย ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาควรจะมีการกำหนดก่อนที่จะมีการพัฒนากลยุทธ์การบริหาร ตัวอย่าง เมื่อบริษัทต้องการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำบัญชี บริษัทจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปริมาณงาน จำนวนพนักงาน และค่าใช้จ่ายทั้งที่ใช้อยู่เดิม และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นใหม่
2. การกลั่นกรองทางเลือก (Screening alternatives) เป็นการพิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่อมีโอกาสต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น การนำเครื่องจักรหลายแบบมาใช้แทนคน จะต้องคัดเลือกเครื่องจักรที่มีความเหมาะสมกับงาน และลักษณะของบริษัทมากที่สุด ทั้งนี้จะต้องเปรียบเทียบกับทางเลือกเดิมคือการใช้แรงงานคน
3. การค้นหาความคิดใหม่ (Discovering new ideas) นักธุรกิจจะวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสร้างความคิดในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ เช่น วิธีการติดต่อสื่อสารใหม่ ๆภายใจองค์การ (New organizational communication) การรื้อปรับระบบ (Reengineering) ภายในองค์การ การศึกษาเวลา และความเคลื่อนไหวในการทำงาน (Time and motion studies) เป็นต้น
การจัดประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีเทคนิคการสำรวจหลายประการ เทคนิคที่ใช้มากก็คือเทคนิคเชิงคุณภาพ (Qualitative technique) แต่อย่างไรก็ตามควรมุ่งที่จุดมุ่งหมายมากกว่าที่เทคนิคแล้วจึงจะพิจารณาว่าจะใช้การวิจัยเชิงสำรวจ เชิงบรรยาย หรือเชิงเหตุผล ตัวอย่าง การสำรวจทางโทรศัพท์ ใช้เพื่อจุดมุ่งหมายเชิงสำรวจเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น